
กฎหมายการเลี้ยงนกนางแอ่น
สำหรับ นกนางแอ่นในประเทศไทย จัดเป็นสัตว์สงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 เพราะฉะนั้นการจะเพาะเลี้ยงนกนางแอ่นเพื่อเอารังมาอบแห้งทำเป็นรังนกนางแอ่นขาย จำเป็นต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย
เนื่องจากทางภาครัฐได้เห็นว่า ควรปรับปรุงกฎหมายอากรรังนกนางแอ่น เพื่อให้ราชการส่วนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วม พร้อมดูแลในการจัดการจัดเก็บรังนกนางแอ่น ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่นของตน นอกจากนี้ยังต้องให้เงินอากรรังนกนางแอ่น เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น รวมทั้งในจังหวัดเดียวกัน ตลอดจนปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่จะให้เกิดการดำเนินการจัดเก็บรังนกนางแอ่นให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
อยากเลี้ยงนกนางแอ่น…ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย
กรณียื่นใบอนุญาตเพื่อก่อสร้างพร้อมดัดแปลงอาคาร เพื่อใช้เป็นบ้านของนกนางแอ่นนั้น เจ้าพนักงานในท้องถิ่นนั้นๆ สามารถพิจารณาคำขอก่อสร้าง ประเภทอาคารเลี้ยงสัตว์ แบบบุคคลสามารถเข้าใช้ได้ อีกทั้งยังต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักของกฎกระทรวง ตลอดจนข้อบัญญัติท้องถิ่นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การรับน้ำหนัก ของอาคาร , ความต้านทาน , ความคงทน , คุณสมบัติของวัสดุ , การรับน้ำหนักของพื้นดิน เป็นต้น ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2527 ตลอดจนข้อกำหนดอื่นๆ รวมทั้งกฎอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องด้วย โดยในเบื้องต้นจะต้องมีการพิจารณาจากการใช้ประโยชน์ของที่ดินในเขตผังเมืองรวมด้วย ว่ามีการกำหนดการใช้ประโยชน์จากประเภทที่ดินไว้อย่างไรบ้าง นอกจากนี้จะต้องมีการพิจารณาตามกฎหมายอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวพันธ์ด้วย เช่น พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2547 , พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 รวมทั้งพระราชบัญญัติสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง รวมเข้าไปด้วย

การขอรับสัมปทาน
- ผู้มีสิทธิเก็บรังนกบนเกาะหรือในที่สาธารณะ จะต้องเป็นผู้ได้รับสัมปทานจากคณะกรรมการ ในแต่ละจังหวัดอย่างถูกต้อง โดยการประมูลตามหลักเกณฑ์ ด้วยวิธีการที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา 14
- บนเกาะหรือในที่สาธารณะ ซึ่งมีนกไปทำรังอยู่ตามธรรมชาติ ห้ามผู้ใดกระทำการใดๆ อันเป็นหรืออาจเป็นอันตรายแก่นกนางแอ่น , ไข่ หรือรังนก ซึ่งอาจเป็นเหตุให้นกนางแอ่น ลาจากแหล่งอาศัยเดิม ไปจากเกาะ ยกเว้นแต่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ มาตรา 25
- ในกรณีเข้าชำระเงินอากร เมื่อพ้นจากระยะเวลากำหนดหรือชำระหากแต่ไม่ครบถ้วน ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 /เดือน มาตรา 15
- เก็บรังนกได้ไม่เกินปีละ 3 ครั้ง มาตรา 17
เกร็ดความรู้
รังนกนางแอ่น สามารถส่งออกไปยังตลาดใหญ่อย่างประเทศจีน โดยราคารังนกดิบส่งออก มีมูลค่าสูงถึง 200,000 บาท/กิโลกรัม แค่เครื่องดื่มรังนกไทย สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท จึงจัดเป็นสินค้าอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีกำลังส่งออกมาก